วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความรักชาติ

 

วันก่อน ในรายการ “คลื่นความคิด” ทางเอฟเอ็ม 96.5 คืนวันพุธ ช่วงที่ คุณสรรเสริญ ปัญญาธิวงศ์ และผม สนทนากับท่าน ว.วชิรเมธี มีผู้ฟังทางบ้านถามเข้ามาถึงเรื่องความรักชาติ และอยากทราบว่านอกจากคำพูดแล้ว เราจะสามารถแสดงออกถึงความรักชาติได้อย่างไรบ้าง


ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คำว่า ชาติ เป็นของใหม่สำหรับคนไทย เพราะโครงสร้างของประเทศไทยในสมัยโบราณนั้น แม้จะมีราชธานี เช่น กรุงศรีอยุธยา หรือกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต้น เป็นศูนย์กลาง แต่การปกครองยังมีลักษณะเป็นหัวเมืองชั้นนอกชั้นในและประเทศราช ซึ่งแต่ละเมืองก็ประกอบด้วยชนพื้นเมืองในท้องถิ่นนั้นๆ และกลุ่มชนอื่นๆ เราเพิ่งจะรู้จักคำว่า ชาติ และตื่นตัวเรื่องความรักชาติกันในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ถึงเรื่องชาติและความรักชาติไว้ในบทพระราชนิพนธ์หลายเรื่อง ทรงมีพระบรมราชาธิบายถึงคำว่าชาติว่า "...คณะชนหลายๆ คณะ รวมกันเข้าจะเป็นคณะใหญ่ จึงได้นามว่าชาติ เพราะฉะนั้น คณะทุกๆ คณะที่ร่วมชาติกัน ต้องมีความสามัคคีปรองดองกันระหว่างคณะ ชาติจึงจะตั้งอยู่เป็นอันหนึ่งอันเดียวมั่นคงได้..."
และทรงพระราชนิพนธ์ถึงความรักชาติว่า “ความรักชาตินั้นต้องเป็นของจริง ซึ่งแสดงให้ปรากฏชัดเจนทุกสถาน ไม่เพียงแค่ร้องตะโกนด้วยปากว่ารักชาติ” ทรงมีพระบรมราชาธิบายถึงการแสดงความรักชาติว่า “ให้เอื้อเฟื้อคนในชาติเดียวกัน ไม่ประทุษร้ายกัน ประพฤติตนเป็นพลเมืองดี เต็มใจยอมเสียสละให้แก่ชาติ ไม่ยอมให้ใครมาทำลาย ไม่ยอมให้ใครแย่งถิ่นที่ตั้งชาติ ใครมารุกรานดินแดนของเรา เราต้องต้านทานจนสุดกำลัง ถึงแม้จะต้องเสียเลือดเนื้อหรือชีวิตก็ต้องยอมเสีย เพื่อสงวนชาติไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลานของเราสืบไปจงได้”
การแสดงความรักชาติที่เห็นได้อย่างชัดเจนในสมัยก่อน ก็คือการเสียสละชีวิตของตนเองเพื่อปกป้องชาติ อย่างไรก็ตามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เองยังใช้คำว่าราชพลี เช่นในปี พ.ศ.2457 ราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยามฯ ได้เรี่ยไรทุนทรัพย์เพื่อซื้อเรือรบหลวงพระร่วงถวายเป็นราชพลี เราเพิ่งจะมาใช้คำว่าชาติพลีกันหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ดังปรากฏในเพลงชาติที่ว่า “สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี” และในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นช่วงสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลได้เน้นในเรื่องความรักชาติด้วยชีวิตและเลือดเนื้อ เช่น “ใครได้จารึกชื่อ (ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ก่อนกัน” รวมทั้งในบทเพลงต่างๆ ซึ่งประพันธ์โดย พล.ต.หลวงวิจิตรวาทการ
หลัง พ.ศ.2500 การแสดงความรักชาติของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป และนิยมแสดงออกด้วยการบริจาคเงินทองและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือทหารตามชายแดนหรือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ ผ่านรายการพิเศษที่จัดขึ้นทางสถานีโทรทัศน์ ซึ่งถ้าจะเรียกว่าเป็นการแสดงความรักชาติแบบทุนนิยมผสมบันเทิงนิยมก็น่าจะได้
คุณทราบไหมครับว่า ในบรรดาประชาชนของประเทศต่างๆ ในโลกนี้ ประชาชนที่ได้ชื่อว่ารักชาติมากที่สุดลำดับต้นๆ ได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย โดยแต่ละชาติต่างก็มีเหตุผลและการแสดงความรักชาติที่แตกต่างกันออกไป - เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้คนอเมริกันรักชาติก็คือความภูมิใจในชาติ ถึงแม้สหรัฐจะเป็นประเทศที่มีอายุเพียง 200 กว่าปี แต่ประวัติศาสตร์ของสหรัฐจะเต็มไปด้วยเรื่องราวของคนอเมริกันที่สร้างผลงานและชื่อเสียงแก่ประเทศชาติ คนญี่ปุ่นนั้นขึ้นชื่อมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองในเรื่องความรักชาติแบบเอาชีวิตเข้าแลก เช่น นักบินกามิกาเซ่ คนสวิตเซอร์แลนด์ทุกคนจะถือเป็นหน้าที่ในการดูแลชาติบ้านเมือง สำหรับคนออสเตรเลียจะหวงแหนดินแดนของตนเป็นอย่างยิ่ง
ย้อนกลับมายังคำถามที่ว่า นอกจากคำพูดแล้วเราจะแสดงความรักชาติได้อย่างไร
ถ้ากลับไปดูประชาชนของประเทศที่ได้ชื่อว่ารักชาติที่สุดในโลก จะเห็นว่าการรักชาตินั้นสามารถแสดงออกได้หลากหลายวิธี การทำงานในหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ก็ถือเป็นการแสดงความรักชาติ การเคารพกฎหมายบ้านเมือง การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สมบัติของชาติ การเสียภาษีอากร การไม่สร้างความเดือดร้อนแก่สังคมก็เป็นความรักชาติอีกอย่างหนึ่ง หรือใครจะบอกว่าการร้องเพลงชาติเป็นการแสดงความรักชาติได้เหมือนกัน ก็ไม่ว่ากันหรอกครับ
มีข้อมูลจากผลการสำรวจของธนาคารโลกว่า ประเทศที่ประชาชนมีความรักชาติมาก จะเป็นประเทศที่มีการคอรัปชั่นต่ำ ประชาชนเอื้ออาทรกันและกัน และไม่ละเมิดกฎหมายและสิทธิของผู้อื่น
สำหรับของเรา การรักชาติเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังและปลุกจิตสำนึก ที่สำคัญก็คือต้องสร้างความรู้สึกภูมิใจในชาติไทย และภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทยด้วยครับ แล้วความรักชาติก็จะตามมาเอง

ความพยายาม




เป็นหลายต่อหลายวันที่ฉันต้องอยู่เงียบๆกับตนเอง พร้อมกับทำความเข้าใจ

กับอารมณ์และความรู้สึก.. คิดถึงที่เกิดขึ้น หลังจากความพยายามที่จะติดต่อหา...

ใครบางคนที่ฉันอยากที่จะพูดคุยด้วย


ดูเสมือนจะหมดหนทางเมื่อสัณญาณโทรศัพท์บ่งบอกว่าเจ้าของโทรศัพท์ไม่ได้เปิด

เครื่องรับ...ใช่สินะ..ไม่ได้เปิดเครื่องรับสาย....มาหลายวันแล้ว


ฉันเองไม่ทราบได้ว่า...เกิดอะไรขึ้นหรือไม่กับเจ้าของเครื่อง.....รู้แต่เพียงว่าคนที่

พยายามติดต่อไปถึงอย่างฉัน...มันเกิดอาการ.. หมดกำลังใจ”…เสียดื้อๆ...ใช่สิ

นะตั้งแต่วันนั้น..วันที่เราได้พูดคุยกันในครั้งสุดท้ายก่อนที่เธอจะเดินทางไปประชุม

ในต่างประเทศ...และก็เกิดข่าวโรคระบาดรุนแรงในประเทศใกล้เคียงกับที่เธอไป

ประชุม..


e-mail หลายต่อหลายต่อฉบับส่งจากฉันถึงเธอ...ข้อความบ่งบอกให้รู้ว่า..คนทาง

นี้..เป็นห่วงสุขภาพของเธอ..เพราะฉันรับรู้มาว่าก่อนออกเดินทางเธอป่วยจนต้อง

ไปพบแพทย์


ท้ายที่สุดสัณญาณโทรศัพท์ของเธอก็บ่งบอกว่า..เธอไม่อยู่ในประเทศ...ความ

เป็นคนช่างสังเกตของฉันมันบอกจากเสียงตอบรับที่แตกต่างไปจากเดิม..อย่างไร

ก็ตามแต่....เธอคงไม่รับสายและติดต่อกลับมา..เช่นอย่างที่เธอเคยปฎิบัติไม่เคย

เปลี่ยน


สัณญาณโทรศัพท์เปลี่ยนไปอีกครั้ง...เสียงเพลงรอสายเพลงเก่าดังขึ้น..ซึ่งเป็น

สัญญาลักษณ์บ่งบอกว่าเธอน่าจะกลับมาถึงเมืองไทยแล้ว....ฉันส่งข้อความถึง

มือถือบอกว่าต้องการ..

คำแนะนำ”…แน่นอนมันเป็นหนทางหนึ่งที่ฉันมักจะใช้ได้ผลหากต้องการ....

การตอบรับจากเธอ


แต่ดูเหมือนจะไม่ใช่..สำหรับครั้งนี้....ท้ายที่สุดฉันใช้วิธีการเขียน e-mail พร้อม

คำถามที่ต้องจากขอความเห็นจากเธอ..แต่ก็ยังคงมีเพียง....ความเงียบ”..

เป็นคำตอบจากเธอ


ฉันเคยถามตัวเองเสมอ..ว่า.... ระหว่างเธอกับฉัน..จะมีโอกาสแปรเปลี่ยน

ให้..ความสัมพันธ์..เป็น...เราได้ไหม และในทุกครั้งที่ฉันตั้งคำถามนี้กับ

ตัวเอง...ดูเหมือน..อารมณ์..มักจะเป็นฝ่ายที่ให้คำตอบแก่ฉันอย่างหนัก

แน่นว่า..ได้แน่นอน...ไม่น่าจะมีเหตุอะไรที่จะมาขวางกันใน...ความเป็นเรา

...ที่ฉันกำลังพยายามที่จะสร้าง


แต่มาในวันนี้...ฉันเริ่มไม่แน่ใจในคำตอบที่ได้จากอารมณ์.....ฉันเริ่มตั้งคำถาม

นี้อีกครั้ง..แต่ คราวนี้..ฉันหันไปถามกับ..เหตุผล”…แทน..และคำตอบดู

เหมือนจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จากคำตอบที่ฉันได้รับจาก..

อารมณ์ เพราะเหตุผล..กลับหันมาตั้งคำถามกลับฉันว่า....ด้วยเหตุผลอะไร

..ฉันจึงต้องใช้ความพยายามเสียเหลือเกินที่จะ..สร้างความเป็นเรา..ระหว่าง

..เธอ.กับ..ฉัน


ทำไม..ไม่ปล่อยให้...เวลาเป็นผู้ช่วย...และค่อยๆ..แปรเปลี่ยน....

จากความตั้งใจเพียงอย่างเดียว...และให้..... ความจริงใจ”….ค่อยๆเข้ามา

ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มตัว

ในบางครั้ง.....เป็นเพราะความ..ตั้งใจที่มากล้นเกินไปก็อาจจะทำให้....

ผู้รับเริ่มอึดอัด....หากแต่... ยอมให้..ความจริงใจได้เล่นบทบาทของ

มันบ้าง....ทั้งผู้ให้และผู้รับอาจจะรู้สึก...ผ่อนคลาย....และมีโอกาสที่จะ

เรียนรู้..ความเป็นมา..เป็นไปของอีกฝ่าย..ก่อนที่จะเริ่มต้น...ตอบโจทย์

ของ.....ความเป็นเรา....ได้ในที่สุด


ความสามัคคี





“...ในปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบว่า ประเทศชาติอยู่ในภาวะที่ต้องอาศัยความเข็มแข็ง เพื่อที่จะให้อยู่รอด ประเทศไทยจะอยู่ได้ก็ด้วยทุกคน ทุกฝ่ายสามัคคีกัน ความสามัคคีนั้นได้พูดอยู่เสมอว่าต้องมี แต่อาจจะเข้าใจยากว่าทำไมสามัคคีจะทำให้บ้านเมืองอยู่ได้
สามัคคีก็คือ การเห็นแก่บ้านเมืองและช่วยกันทุกวิถีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองอยู่ได้
สามัคคีนี้ก็คือ การเห็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิถีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และไม่ทำลายงานของกันและกัน และทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ต้องส่งเสริมงานของกันและกัน และไม่ทำลายงานของกันและกัน มีเรื่องอะไรให้ได้พูดปรองดองกัน อย่าเรื่องใครเรื่องมัน และงานก็ทำงานอย่างตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม...”
(พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานในพิธีประดับยศนายตำรวจชั้นนายพล ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๙)
จากพระราชดำรัสดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า ความสามัคคี คือ ความสามารถจะทำงานเพื่อส่วนรวม หรือความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกันและกัน เพื่อเอื้อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งความสามัคคีแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ความสามัคคีของวิชาการ และความสามัคคีในจิตใจ
ความสามัคคีวิชาการคือ การประสานความรู้ และทักษะของผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มากมาย เพื่อส่งผลสำเร็จในด้านต่าง ๆ มาสู่ประเทศ
ความสามัคคีในจิตใจเป็นลักษณะของการปรองดองกัน โดยเกิดจากความเมตตากรุณากันและกัน มีจิตใจผูกพันที่จะช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้งานนั้น ๆ บรรลุเป้าหมาย
คำว่า “สามัคคี” แปลว่า ความพร้อมเพรียง ได้แก่ ความพร้อมเพรียงกันทางกายวาจา และใจ พร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่บังเกิดผลเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม พร้อมเพรียงกันทำงานในหน้าที่ของตน ใครมีหน้าที่อย่างไร ก็ทำอย่างนั้น ตั้งใจทำให้เต็มกำลัง เต็มความสามารถของตน อย่างนี้เรียกว่า “สามัคคี”
ปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดความสามัคคี คือ ความสามัคคีกลมเกลียวกัน หรือความร่วมมือและร่วมใจกัน เป็นสิ่งที่สำคัญที่คนไทยทุกคน ๆ คนพึงมีอยู่ในจิตสำนึก และช่วยกันสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น พื้นฐานที่สุดของการจรรโลงความสามัคคีกลมเกลียวกันให้บังเกิดขึ้น และดำรงอยู่ต่อไปอย่างแน่นแฟ้น คือ การรู้จักหน้าที่ของตนเอง ในหมู่สมาชิกของสังคม และประเทศนั้น ๆ กล่าวคือ ผู้ใดมีภาระหน้าที่อันใดอยู่ ก็เร่งกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปให้ทันการณ์ทันเวลา โดยเต็มกำลัง ความรู้ ความสามารถ และโดยบริสุทธิ์จริงใจ ผลงานของแต่ละคนจักได้ประกอบส่งเสริมกันขึ้นเป็นความสำเร็จและความมั่นคงของชาติ
การที่จะเกิดความสามัคคีได้ในการกระทำต้องเริ่มจากใจภายในเสียก่อน ถ้าทุกคนมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันแล้ว ประเทศชาติย่อมคลาดแคล้วจากภัยของศัตรู และตั้งมั่นมีความสุขสมบูรณ์อยู่ได้
หากขาดความสามัคคี ไม่รักใคร่ไว้วางกัน ปราศจากความปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การดำเนินงานย่อมจะไม่สำเร็จ ธรรมที่เสริมสร้างความสามัคคีของหมู่คณะคือ สังคหวัตถุ ๔ ประการซึ่งได้แก่
๑. ทาน คือ การให้ปันของแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน ตลอดจนให้ความรู้ ความเข้าใจ และศิลปวิทยา
๒. ปิยวาจา คือ พูดจาปรารัยด้วยถ้อยคำอ่อนหวานไพเราะเป็นที่เจริญใจ มีวาจาที่นิ่มนวลไพเราะ อ่อนหวาน เป็นคุณ ทำให้เกิดความพอใจแก่ผู้ได้ยินได้ฟัง
๓. อัตถจริยา คือ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กันและกัน ช่วยเหลือกันด้วยกำลังกาย กำลังความคิด และกำลังทรัพย์ เป็นต้น
๔. สมานัตตตา คือ ความเป็นผู้วางตนเหมาะสม ประพฤติปฏิบัติตามที่ควรจะเป็น วางกิริยาอัธยาศัยให้เหมาะกับฐานะ หรือตำแหน่งหน้าที่
การเสริมสร้างความสามัคคี มีแต่ได้ไม่มีเสียหาย ขอให้ปรารถนาดีต่อกันอย่างจริงจัง และปฏิบัติตามธรรม ๔ ประการ ข้างต้น เมื่อได้ประพฤติปฏิบัติ ความสามัคคีย่อมจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดความสามัคคีขึ้นแล้ว การงานทุกอย่างแม้จะยากสักเพียงใด ก็กลายเป็นง่าย ชีวิตมีแต่ความราบรื่น แม้จะเกิดอุปสรรคก็สามารถขจัดให้หมดสิ้นได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “สามัคคีคือพลัง”
เพียงแต่ทุกคนดำรงชีวิตบนพื้นฐานแห่งคุณธรรม ให้ทุกคนมีความรัก และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ดังพุทธภาษิตว่า “สุขา สงฆสส สามคี แปลว่า ความสามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข”

ค่านิยมของสังคมไทย

  
      ค่านิยม (Value) ของสังคมไทย หมายถึง สิ่งที่คนสนใจ สิ่งที่คนปราถนาจะได้ ปราถนา จะเป็นหรือกลับ
กลายมาเป็น มีความสุขที่ได้เห็นได้ฟังได้เป็นเจ้าของค่านิยมในสังคมจึงเป้น "วิถีของการจัดรูปความประพฤติ" ที่มีความหมายต่อบุคคล เป็นแบบฉบับของความเป็นแบบฉบับของความคิดที่มีคุณค่าสำหรับยึดถือในการปฎิบัติ
ตัวของคนในสังคม

ความหมายของค่านิยม
คำว่า ค่านิยมนั้น มีท่านผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายไว้ ซึ่งพอสรุปได้ว่า
ค่านิยม เป็นแนวความคิด ความเชื่อ เป็นอุดมการณ์ เป็นความต้องการของกลุ่มคนในสังคม ซึ่งยอมรับว่า
เป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่าควรแก่การนำไปเป็นแนวทางในการปฎิบัติ เป็นกรอบของการดำเนินชีวิตเพื่อประโยชน์สุข
ของตนเองและส่วนรวม ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของตนเอง เพราะจะมีค่านิยมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์
ควบคู่กับไปแต่ละสังคม เพราะค่านิยมของแต่ละสังคมส่วนใหญ่ของมนุษย์ เป็นมรดกทางความคิดของคนไทย
และเป็นพื้นฐานของการเกิดขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอีกด้วย

ลักษณะของค่านิยม
ลักษณะของค่านิยม พอสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดการประพฤติปฎิบัติของคนในสังคม
2. สมาชิกในสังคมยึดถือมานาน
3. ค่านิยมที่ยึดถือนั้นเป็นความต้องการของคนในสังคม
4. สมาชิกในกลุ่มให้การยอมรับ
ดังนั้น ค่านิยมจึงเป็นรูปแบบความต้องการของมนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ที่มีเป้าหมาย มีการยึดถือของสมาชิก
ในกลุ่มนั้น โดยส่งผลให้เกิดการตัดสินใจของคนในสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การปฎิบัติสืบทอดเป็นวัฒนธรรม
ว่าเป็นสิ่งที่น่ากระทำและน่ายกย่อง
ค่านิยมทางนำไปสู่การปฏิบัติเป็นวัฒนธรรม
ลักษณะค่านิยมของสังคมไทยในอดีต
วิถีชีวิตของสังคมไทยในอดีต ส่วนใหญ่ยึดมั่นปฏิบัติสืบตามบรรพบุรุษ พ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่
ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดสุขสบาย ไม่อยากให้ใครเดือดร้อน วิถีชีวิตเป็นแบบเรียบง่ายไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
แม้ว่าจะมีระบบข้ากับจ้า บ่าวกับนายก็ตาม ค่านิยมของสังคมไทย ในอดีตจะมีลักษณะดังนี้

      1. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา
คนไทยในอดีตส่วนใหญ่ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพราะเมื่อทำแล้ว เกิด
ความสบายใจ มีความสุขจากการทำบุญ ทำให้คนมีจิตใจดี มีความอ่อนโยน มีเมตากรุณา การประพฤติ
ตามหลักธรรมคำสอนทำให้คนเป็นคนดี อีกทั้งเป็นคนดี อีกทั้งยังเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวด้วย
2. เชื่อเรื่องในกฎแห่งกรรม
เป็นแนวทางในสังคมไทยในอดีตเกิดความกลัว ละอายต่อการทำบาป เพราะเมื่อตายแล้วต้องตกนรก
ทำให้เกิดการทำบุญหรือทำความดี เพื่อหนทางสู่สวรรค์นั่นเอง
3. เชื่อในเรื่องวิญาณ ภูตผีปีศาจ
มีความเชื่อในเรื่องอำนาจลีลับที่มีอยู่เหนือมนุษย์ สามารถบันดาลให้เกิดสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ร้าย
ด้วยเหตุผลนี้จึงมีพิธีกรรมเกิดขึ้นมากมายซึ่งเป็นความเชื่อในเร่องไสยศาสตร์ เช่น เชื่อในเรื่องเจ้าที่เจ้าทาง
ผีบ้านผีเรือนเป็นต้น
4. ยกย่องระบบศักดินา
เป็นความเชื่อที่ว่าเป็นผู้มีบารมี ความร่ำรวย บุคคลในตระกูลสูงศักดิ์ คือ ผู้ที่เทพเจ้าบันดาลให้มาเกิด
จึงได้รับการย่องย่องเกรงกลัว
5. เคารพผู้อาวุโส
อาจหมายถึงผู้ที่สูงอายุ ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ มีความเชื่อว่าผู้อาวุโสเป็นผู้มีประสบการณ์ มีความ
สามารถ เช่นสำนวนที่ว่า “ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน” การเคารพผู้อาวุโสจะทำให้มีความสุข เจริญก้าวหน้า
6. มีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ
เพราะการประกอบอาชีพจะอาศัยแม่น้ำ ลำคลลอง หรือจากน้ำฝน มีการหาของป่าถ้าปีใดเกิดความ
แห้งแล้งจะเป็นปัญหาทางการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง เพราะยังไม่มีการค้นเทคโนโลยีสมัยใหม่
7. เชื่อถือโชคลาง
เมื่อชีวิตอยู่กับธรรมชาติ จึงถือว่าสิ่งลึกลับจะช่วยให้เกดสิ่งดีหรือร้ายได้ และมีอิทธิพลต่อการ
ชีวิตดำเนินมาก เช่น เสียงทักของจิ้งจก ตุ๊กแก ขณะจะออกจากบ้าน เมื่อได้ยินเสียงก็ให้เลิกล้มความตั้งใจเสีย
หรือเลื่อนเวลาเดินทางออกไป
8. ต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคม
แสดงถึงการพึ่งพาอาศัยกัน มีการปรึกษาหารือ ทำให้ชีวิตไม่เหงา รู้สึกตนเองยังมีคุณค่าในสังคม
9. ยึดมั่นในจารีตประเพณี
คนส่วนใหญ่ต่างยอมรับกฎเกณฑ์ที่ปฎิบัติสืบทอดกันมาว่าเป็นสิ่งดีงาม และต้องรักษาแบบแผนไว้
สืบต่อกันไป การไม่ปฎิบัติตามย่อมถูฏตำหนิและเป็นที่รังเกียจของสมาชิกในสังคม
10. นิยมอำนาจและบารมี
เนื่องจากสภาพสังคมในอดีตเป็นระบบศักดินา จึงทำให้กลุ่มผู้มีอำนาจพยายามสร้าง ซึ่งเป็นการ
ส่งผลทำให้เกิดบารมีในตนเอง ไปสู่การเป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง มีเมตาต่อผู้ยากไร้ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์
11. ชอบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
สังคมไทยในอดีตมีความเข้าใจไว้วางใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือแม้นแต่การทำงานที่ต้อง
ใช้เวลาจำกัด เช่น การทำนา ทำไร หรือจัดงานบุญที่บ้านหรือที่วัด ก็นิยมช่วยเหลือกันเรียกประเพณีนิยมนี้ว่า
“การลงแขก” เป็นต้น
12. พึงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
เป็นการใช้ชีวิตแบบสันโดษ เพื่อสอดคล้องกับหลักธรรม เป็นกลุ่มอนุรักษนิยมมากกว่า การแสวงหา
ความก้าวหน้า ต้องการความสบายใจ การทำงานจึงไม่เป็นระบบ ไม่มีการวางแผนชีวิตในระยะยาว

ลักษณะค่านิยมของสังคมไทย
สภาพของสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพของสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา
มีการติดต่อค้าขาย สัมพันธ์ทางการทูตกับทางประเทศ มีทุนให้ครูอาจารย์ไปดูงานต่างประเทศ
การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีแก่สถาบันการศึกษา ทำให้มีการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ
ของสังคมไทยด้วยดังนี้
1.ยึดถือในพระพุทธศาสนา
เช่นเดียวกับในอดีต มีการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ่ง ตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์
ข้อบังคับของสงฆ์ ประชาชนมีบทบาทตรวจสอบพฤติกรรมทางวินัยสงฆ์ได้ เพื่อป้องกันปัญหาการแสวงหา
ผลประโยชน์จากพุทธศาสนา
2.เคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์
สังคมไทยต่างจากสังคมชาติอื่น กษัตริย์ไทยเปรียบเสมือนสมมติเทพ คอยดูแลทุกข์สุขของประชาชน
ทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรื่องในทุกด้าน จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจ พระองค์เป็นสิ่งทุกอย่างในชีวิต ของ
คนไทย เป็นที่เคารพของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
3.เชื่อในเรื่องของเหตุผล ความเป็นจริง และความถูกต้องมากขึ้นกว่าในอดีต
ในสภาวะของเหตุการณ์ต่าง ๆ ปัจจุบันสังคมไทยปลูกฝังให้คนไทยรู้จักคิดใช้ปัญญามีเหตุผลมากขึ้น
เช่น ได้ออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองเจ้าของความคิด ไม่ใครลอกเลียนแบบได้เรียกว่า
“ลิขสิทธิ์ทางปัญญา”เป็นต้น
4.ค่านิยมในการให้ความรู้
ปัจจุบันสังคมไทยมีการแข่งขันกันตลอดเวลา การจะพาตนเองให้รอดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้
จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นจึงเป็นสิ่งที่คนไทยในสังคมปัจจุบันต้องเสาะแสวงหา
5.นิยมร่ำรวยและมีเยรติ
สังคมไทยปัจจุบันให้ความสำคัญเรื่องความร่ำรวยและเงินทอง เพราะมีความเชื่อที่ว่าเงินทองสามารถ
บันดาลความสุขตอบสนองความต้องการของคนได้ ขณะเดียวกันก็จะมีชื่อเสียงเกียรติยศตามมา จึงเป็นจุดเร้าให้
ทุกคนอยากรวย ไม่ว่าจะหาเงินมาด้วยวิธีที่ถูกต้องจาการทำงาน หรือการได้มาด้วยการช่อโกง จึงทำให้เกิด
ช่องว่างระหว่างคนในสังคม
6.มีความเชื่อมั่นตนเองสูง

เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยทุกคนกล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออกทางความคิดและการกระทำ
มีบุคลิกภาพเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำที่ดี
7.ชอบแก่งแยงชิงดีชิงเด่น
ลักษณะกลัวการเสียเปรียบ กลัวสู้เพื่อไม่ได้ เพื่อการอยู่รอดจึงต้องกระทำการแย่งชิง แสวงหา
ผลประโยชน์ให้ตนเอง
8. นิยมการบริโภค
นิยมบริโภคของแพง เลียนแบบอย่างตะวันตก รักความสะดวกสบาย ใช้จ่ายเกินตัวเป็นการนำไปสู่
การมีหนี้สินมากมาย
9.ต้องทำงานแข่งกับเวลา
ทุกวันนี้คนล้นงาน จึงต้องรู้จักกำหนดเวลา การแบ่งแยกเวลาในการทำงาน การเดินทางและการ
พักผ่อน ให้ชัดเจน
10.ชอบอิสระ ไม่ชอบอยู่ภายใต้อำนาจใคร
ไม่ชอบการมีเจ้านายหลายคน ในการทำงานมักประกอบอาชีพอิสระ เปิดกิจการเป็นของตนเอง
11.ต้องการสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิงชายเท่าเทียมกัน
หญิงไทยในยุคปัจจุบันจะมีความคล่องแคล่ว สามารถบริหารงานได้เช่นเดียวกับผู้ชายเป็นที่พึ่ง
ของครอบครัวได้ ภรรยาจึงไม่ใช้ช้างเท้าหลังต่อไป
12. นิยมการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน
ซึ่งการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตกที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่าทางจิตใจ ผู้ใหญ่ควรทำตน เป็น
ตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน เหมาะสมกับศีลธรรมจรรยา
13. นิยมภาษาต่างประเทศ
ปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความสำคัญจำเป็นมาก เพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
และ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ ตำราหรืออินเตอร์เน็ตมีความจำเป็น ต้องรู้ทางภาษาต่างประเทศ หากไม่มีก็ยาก
ต่อการศึกษาและนำไปใช้
ค่านิยมทั่วไปของสังคมไทย
ค่านิยมทั่วไปของสังคมไทย มีทั้งดีและไม่ดี ซึ่งแล้วแต่ทัศนคติของแต่ละกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มคนตาม
โอกาสหรือวาระต่าง ๆ หากสิ่งใดที่เราเห็นว่าไม่ดีควรหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติ สิ่งใดเห็นว่าดีเป็นประโยชน์แก่สังคม
เราก็ควรปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสังคมให้ดีขึ้น ค่านิยมทั่วไปของสังคมไทยมีดังนี้





1. ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
2. เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
3. นับถือเงินตรา ยึดมั่นในเงินทองสิ่งของมากกว่าความดี ให้ความยกย่องต่อผู้มีอำนาจ
4. ขาดระเบียบวินัย เช่นคำพูดที่ว่า “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้”
5. เคารพผู้อาวุโส ยกย่องผู้มีความรู้
6. รักความสนุก ชอบความสบาย รักความอิสระ ไม่ชอบขัดใจใคร
7. มีความกตัญญูรู้คุณ รักพวกพ้อง มีความเอื้เฟื้อเพื่อแผ่
8. ไม่ตรงต่อเวลา ชอบผัดผ่อนเลื่อนเวลา
9. ขาดความอดทน ขาดความกระตือรือร้น เชื่อโชคลาง อยากรวย ชอบเล่นการพนัน
10. ชอบงานพิธี สอดรู้สอดเห็น ลืมง่าย ชอบนับญาติ
11. ชอบโฆษณา ชอบของแจกของแถม เห็นใครดีกว่าไม่ได้
12. ชอบต่อรอง ชอบผูดหรือบอกเล่าเกินความจริง

ค่านิยมสังคมเมืองและสังคมชนบท



ค่านิยมสังคมเมือง
1. ชอบหรูหรา ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2. นิยมสินค้า Brand name จากต่างประเทศ
3. ยกย่องผู้มีอำนาจเงินทอง
4. นิยมในเรื่องวัตถุ
5. เห็นแก่ตัว มีการแข่งขันกันมาก
6. เชื่อในเรื่องหลักการเหตุผล
7. ชอบเสี่ยงโชค
8. ร่วมงานหรือพิธีกรรมทางศาสนาน้อย
9. ชีวิตอยู่กับเวลา แข่งขันกับเวลา
10. ขาดความมีระเบียบวินัย
11. ไม่ชอบเห็นใครเหนือกว่า เห็นแก่ตัว

ค่านิยมสังคมชนบท
1. ประหยัด อดออม เศรษฐกิจพอเพียง
2. นิยมภูมิปัญญาไทย สิ้นค้าไทย
3. ยกย่องคนดี ความมีน้ำใจ
4. นิยมเรื่องคุณงามความดี มีจริยธรรม
5. เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นแก่ส่วนรวม
6. เชื่อโชคลาง ไสยศาสตร์
7. ชอบเล่นการพนัน
8. ชอบทำบุญ ร่วมพิธีกรรมทางศาสนามาก
9. ชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติ อาศัยธรรมชาติ
10. พึ่งพาอาศัยกันและกัน
11. มีความสันโดษ พอใจในสิ่งที่มีอยู่
ค่านิยมพื้นฐาน และแนวทางปฏิบัติ ตามค่านิยมพื้นฐานที่ควรยกย่องในสังคม
ค่านิยมทางสังคมมีส่วนร่วมส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่สังคมได้ จึงควรปลูกฝังให้มีขึ้นในสังคม
โดยค่านิยมพื้นฐานนั้น คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ประกาศใช้เพื่อปลูกฝังแก่ประชาชนชาวไทย
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2525 มีดังนี้

1. การพึ่งพาตนเอง ขยันมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น
2. การประหยัดและอดออม ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนรวมก็ตาม
3. การมีระเบียบและเคารพกฎหมาย ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อควมสงบสุขในสังคม
4. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา คือ การทำความดีละเว้นความชั่ว
5. ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยการแสดงออกด้วยการกระทำ เช่น เสียภาษีให้รัฐ
เคารพกฎหมายปฏิบัติตามหลักของศาสนา เคารพเทิดทูนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้ใครมาทำลาย
นอกจากค่านิยมที่กล่าวมาแล้ว ค่านิยมดี ๆ ที่น่ายกย่องและควรปลูกฝังในสังคมไทยยังมีอีกหลายประการ
1. ค่านิยมเป็นไทย ภูมิปัญญาไทย ใช้สินค้าไทย ดังคำกล่าวที่ว่า “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ”
2. มีความขยัน อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน ไม่ย่อท้อต่อปัญหาชีวิต
3.มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคนดีไม่คดโกงไม่เห็นแก่ตัว

4. มีความกตัญญูรู้คุณ เคราพผู้อาวุโส ไม่ผูกพยาบาท หาโอกาสตอบแทนผู้มีพระคุณ
5. ยกย่องทำความดี สนับสนุนและส่งเสริมทำความดี
6. มีนํ้าใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ตระหนักในความสำคัญของคุณธรรม ขนบธรรมเนียยมประเพณีที่ดีงาม
7. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยึดมั่นหลักการประชาธิปไตย เครารพกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับ เพื่อความ
สงบสุขของสังคม
8. เห็นความสำคัญของครอบครัว ในฐานะที่เป็นรากฐานในการพัฒนาเยาวชน พัฒนาคนช่วยกันรักษา
สาธารณสมบัติและมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ

ค่านิยมที่ควรแก้ไขในสังคมไทย
ค่านิยมของสังคมไทยนั้นไม่ใช้ว่าจะก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมทั้งหมดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะค่านิยม
ที่ไม่ควรยกย่องที่เกิดขึ้นในสังคมก็ยังมีอยู่มาก ซึ่งถ้าคนในสังคมปฎิบัติยึดถือ ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม
นั้น ๆ ได้ดังนั้น ค่านิยมดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ควรแก้ไข ซึ่งมีดังนี้
1. ให้ความสำคัญกับวัตถุ หรือเงินตราย่อมก่อให้เกิดผลเสียได้รับการดูถูกดูแคลน เป็นที่รังเกลียดต่อสังคม
2. ยึดถือในตัวบุคคล ยกย่องผู้มีอำนาจ มีเงิน
3. รักพวกพ้อง รักความสนุกสนาน ความสบาย
4. รักความหรูหรา ฟุ่มเฟือย นิยมใช้สิ้นค้าแพง
5. ไม่ตรงเวลา ขาดระเบียบวินัย ขาดความกระตือรือร้นและความอดทน
6. เชื่อเรื่องโชคลาง
อำนาจเหนือธรรมชาติ ชอบเล่นการพนัน
7.
ขาดความเคราพผู้อาวุโส
8. นับถือวัตถุมากกว่าพระธรรม ทำบุญเอาหน้า หวังความสุขในชาติหน้า
9. นิยมตะวันตกลืมภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาของชาติื จนทำให้ภาษาไทยผิดเี้พี้ยน
10. พูดมากกว่าทำ หน้าใหญ่ใจโต สอดรู้สอดเห็น เห็นใครดีไม่ได้
ค่านิยมเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาได้เช่นเดียวกับความเชื่อ ซึ่งแตกต่างกันไปตามสังคมและวัฒนธรรม
ส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ปฎิบัติอยู่ก็ควรจะระลึกไว้ว่า สิ่งใดดี สิ่งใดเหมาะสม ในสภาพสังคมปัจจุบัน
เราจึงควรเลือกให้ได้ว่าค่านิยมใดคือค่านิยมที่ดีและควรปฎิบัติ

การสร้างค่านิยมให้กับเยาวชน

ถ้าเด็กหรือเยาวชนในวันนี้เป็นผู้ที่มีคุณค่า มีปัญญา เป็นผู้มีคุณธรรมและสติปัญญาในทางที่ถูกต้อง
สังคมไทยจะได้ผู้ใหญ่ที่ดีในอานาคต ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่สำคัญที่สุดในการแต่งแต้มคุณธรรมความดี
หรือสิ่งที่เลวร้ายให้กับเด็กได้ ดังนั้น การอบรมเยาวชนให้เป็นคนดีสามารถปฎิบัติได้ดังนี้
1. สถาบันครอบครัวสามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้เยาวชนได้ โดยพ่อแม่ ผู้อบรมเลี้ยดูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
ให้กับลูกเพื่อให้เขาเติบโตมาอย่างมีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ
2. สถาบันการศึกษา ให้การอบรมสั่งสอนในด้านความรู้ คิดเป็น ทำเป็น มีคุณธรรม จริยธรรม โดยครูต้อง
เป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ เพื่อสร้างเขาให้เป็นคนดี
3. การปลูกฝังทั้ง 2 สถาบัน นอกจากจะอบรมสั่งสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว ควรปลูกฝังให้เยาวชนรู้จัก
ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผลแห่งความถูกต้อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปฎิบัติ ที่ว่าสิ่ง ที่ตน
ได้ปฎิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ดีถูกต้อง
 






       

สิทธิมนุษยชน






สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้นตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใด ๆ

สิทธิมนุษยชน หมายถึงแนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ที่ว่า มนุษย์นั้นมีสิทธิหรือสถานะสากล ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับขอบเขตของกฎหมาย หรือปัจจัยท้องถิ่นอื่นใด เช่น เชื้อชาติ หรือ สัญชาติ

จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า "มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง"[1]

ความดำรงอยู่ ความถูกต้อง และเนื้อหาของสิทธิมนุษยชน เป็นหัวข้อที่เป็นที่โต้เถียงกันมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในทางปรัชญาและรัฐศาสตร์ ตามกฎหมายแล้ว สิทธิมนุษยชนได้ถูกบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ และในกฎหมายภายในของหลายรัฐ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนจำนวนมากแล้ว หลักการของสิทธิมนุษยชนนั้นกินขอบเขตเลยไปกว่ากฎหมาย และก่อร่างขึ้นเป็นหลักศีลธรรมพื้นฐานสำหรับวางระเบียบภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัย สำหรับคนกลุ่มนี้แล้ว สิทธิมนุษยชนคือความเสมอภาคในอุดมคติ

  สิทธิมนุษยชนตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ


กล่าวนำ


ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑ ในฐานะ ที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ โดยประเทศสมาชิกต่างมีเจตจำนงประการสำคัญว่า การคุ้มครองสิทธิ-มนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเงื่อนสำคัญประการหนึ่งที่จะก่อให้เกิดสันติภาพในประเทศสมาชิก ที่ร่วมองค์กรและสังคมระหว่างประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่าง ๆ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง, การเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ตลอดจนกติการะหว่างประเทศที่ว่าด้วยการจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ฯลฯ เป็นต้น

  บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกับสิทธิมนุษยชน


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีสาระสำคัญเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งมีบทบัญญัติมาตรา ๑๙๙ และ มาตรา ๒๐๐ บังคับไว้ในส่วนที่ ๘ ที่ว่าด้วย “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” ซึ่งมีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ต่อมาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติไว้ในหมวด ๑๑ ส่วนที่ ๒ ว่าด้วยองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

มาตรา ๒๕๖ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นหน่วยงาน ที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๒๕๗ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป

(๒) เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

(๓) เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

(๔) ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจาก ผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

(๕) เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และ กฎ ต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

(๖) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน

(๗) ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน

(๘) จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา

(๙) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจเรียกเอกสารหรือ หลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ รวมทั้งมีอำนาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

  สิทธิมนุษยชน คืออะไร


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๓๔ (๑) กำหนดบังคับไว้ให้ออกกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใน ๒ ปี นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญใช้บังคับ รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายมารองรับ เรียกว่า “พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒” ซึ่งมีประเด็นสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้

(๑) มาตรา ๓ ให้คำจำกัดความว่า “สิทธิมนุษยชน” หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือศักดิ์ศรีความเป็นคนเป็นสิ่งที่ทุกคนมีติดตัวมาแต่กำเนิด โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือแนวคิดอื่น ๆ เผ่าพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ถิ่นกำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ เช่น คนเราทุกคนมีสิทธิได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายไม่ว่าที่ไหน เมื่อไร (ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๖)

คนเราทุกคนเกิดมามีอิสระเสรี มีศักดิ์ศรี มีสิทธิเท่าเทียมกันหมดทุกคนได้รับการประสิทธิประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง (ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑)

รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติรับรอง กำชับ และเรียกร้องเมื่อถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้ด้วย อย่างชัดเจน ได้แก่

(๒) มาตรา ๔ บัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง”

(๓) มาตรา ๒๖ บัญญัติว่า “การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ”

(๔) มาตรา ๒๘ บัญญัติว่า “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

  สิทธิมนุษยชนกับทหาร


ทหารจำเป็นต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากกรณีเหตุการณ์ใช้กำลังเข้าระงับการชุมนุมระหว่างวันที่ ๑๗ - ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๕๓๕ รับทราบรายงานของคณะกรรมการกลั่นกรองรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จริงของเหตุการณ์ดังกล่าว และเห็นชอบตามข้อสังเกตและความเห็นของคณะกรรมการ ฯ โดยมีมาตรการที่เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหม คือ

ข้อ ๓ รับไปดำเนินการบรรจุวิชาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนพื้นฐานในการแสดงออกอย่างเสรีในหลักสูตรการศึกษาทุกแขนง โดยเฉพาะการบรรจุวิชาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนพื้นฐานในหลักสูตรวิชาทางทหาร ตำรวจ และนักปกครองระดับต่าง ๆ เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯลฯ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน


ตามมาตรา ๒๕๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บัญญัติว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย

ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การถอดถอน และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว มีคุณสมบัติดังนี้


มาตรา ๖ ของพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ประธานคณะกรรมการ

๑. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

๒. มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์

๓. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

๔. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งของพรรคการเมือง

๕. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

๖. ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ

๗. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

๘. ไม่เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล

๙. ไม่เป็นบุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันได้รับการเสนอชื่อ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท

๑๐. ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือเพราะประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ

๑๑. ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ

๑๒. ไม่เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการป้องกันและปราบ-ปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

๑๓. ไม่เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง


มาตรา ๗ ของพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการต้อง

(๑) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ

(๒) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น หรือไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจหรือของหน่วยงานของรัฐ

(๓) ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด

เมื่อวุฒิสภาเลือกบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) โดยได้รับความ ยินยอมของผู้นั้น ผู้ได้รับเลือกจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อเมื่อได้ลาออกจากการเป็นบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) แล้ว ซึ่งต้องกระทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเลือก แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออกภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการ และให้ดำเนินการสรรหาและเลือกกรรมการใหม่แทน

เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ “โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทั้งหญิงและชาย และผู้แทนขององค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย ( ม.๕ ) โดยกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอยู่ในตำแหน่ง ๖ ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและดำรง ตำแหน่งเพียงวาระเดียว (ม.๑๐ ว.๑)
  การดำเนินงานของคณะกรรมการ

๑. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีอำนาจตรวจสอบและเสนอมาตรการแก้ไขกรณีที่มีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดี อยู่ในศาล หรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว (ม.๒๒)

๒. ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมีสิทธิยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการโดยผู้นั้นเอง หรือผู้ทำการแทน แจ้งการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยยื่น ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน โดยการร้องเรียนด้วยวาจาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้กระทำได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (ม.๒๓)

๓. ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนร้องต่อองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน เมื่อองค์การเอกชนพิจารณาเบื้องต้นแล้วเห็นว่ากรณีมีมูลก็อาจเสนอเรื่องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนดำเนินการต่อไป (ม.๒๔)

๔. ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนสามารถนำคดีขึ้นฟ้องต่อศาลได้เหมือนคดีทั่วไป ตามแต่สิทธิที่ถูกลิดรอน เช่น ทางร่างกายก็ฟ้องต่อศาลอาญา ทางลิขสิทธิ์ก็นำคดีสู่ศาลทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ เป็นต้น

โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไม่มีอำนาจในการลงโทษผู้ละเมิด เพียงแต่แจ้งให้ผู้กระทำละเมิดได้ทราบว่าสิ่งที่กระทำนั้นละเมิดต่อผู้อื่น

ความเข้าใจเบื้องต้นในสิทธิมนุษยชน


ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้เป็นมาตรฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จ สำหรับประชาชนทั้งหลายและประชาชาติทั้งปวง ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้ปัจเจกบุคคลทุกผู้ทุกนามและองค์กรของสังคมทุกหน่วย โดยการระลึกเสมอ ๆ ถึงปฏิญญานี้ พยายามสั่งสอนและให้การศึกษาเพื่อส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ และด้วยมาตรการที่เจริญก้าวหน้าไปข้างหน้า ทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับและการถือปฏิบัติต่อสิทธิเหล่านั้นสากล และได้ผลทั้งในหมู่ประชาชนของรัฐสมาชิกเอง และหมู่ประชาชนแห่งดินแดนที่อยู่ภายใต้ดุลอาณาของรัฐสมาชิกดังกล่าว

ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาอิสระเสรีและเท่าเทียมกัน ทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง

ข้อ 2บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดาที่ระบุไว้ในปฏิญญานี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใด ๆ เช่นเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด

นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่างโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกสารอยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด ข้อ 3 บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในเสรีธรรมและความมั่นคงแห่งร่างกาย

ข้อ 4 บุคคลใดจะถูกบังคับให้เป็นทาส หรืออยู่ในภาวะจำยอมใด ๆ มิได้ การเป็นทาสและการค้าทาสจะมีไม่ได้ทุกรูปแบบ

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในเบื้องต้น จะกล่าวถึงหลักการเบื้องต้นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคมที่กล่าวไว้ในหลักการในการประกาศปฏิญญาสากล และปฏิญญากลในข้อ 1- ข้อ 4 เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติสุข

สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งความถูกต้องชอบธรรมนั้นมีที่มาจากการเคารพซึ่งกันและกัน การใช้สิทธินั้น เราใช้ได้เท่าที่ไม่ไปละเมิดในสิทธิของผู้อื่น เช่น เคารพในสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือว่าเป็นความจำเป็นของชีวิต

สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในแง่ของศักดิ์และสิทธิ์ เพื่อดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว อายุ ศาสนา ภาษา และสถานภาพ ทางกายภาพและสุขภาพ รวมทั้งความเชื่อทางสังคม การเมือง ชาติกำเนิดเหล่านี้ คือสิทธิที่มีมาแต่กำนิด ไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ เช่นสิทธิในร่างกาย สิทธิในชีวิต เป็นต้น

สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในฐานะอารยธรรมโลก นับเป็นความฉลาดของมนุษย์ที่พยายามวางระบบคิดเพื่อให้คนทั้งโลกเกิดความตระหนักรู้และคิดคำนึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ นับแต่ขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกำเนิด รวมทั้งระบบสิทธิต่างๆที่มีพื้นฐานมาจากความชอบธรรม ซึ่งเป็นความชอบธรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสิทธิโดยกำเนิด สิทธิตั้งแต่เกิด การให้ความสำคัญกับคำว่า ชีวิต ว่าโดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายล้วนต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิตด้วยกันทั้งนั้น นับแต่ปัจจัยขั้นพื้นฐานที่ว่าด้วยอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม การดำรงเผ่าพันธุ์ การมีชีวิตรอด ฯลฯ ความต้องการขั้นพื้นฐานเหล่านี้ นับเป็นปัจจัยสำคัญกับชีวิตเป็นที่สุด และเหมือนกันทั้งมนุษย์และสัตว์ ซึ่งสิทธิดังกล่าวหากเป็นความชอบธรรมของมนุษย์ก็คือ สิทธิมนุษยชน ทั้ง มนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม มนุษย์กับธรรมชาติ และแม้แต่กับสัตว์ การคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานมีความจำเป็นอยู่เสมอ เหล่านี้นับเป็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชนที่สังคมโลกต่างให้ความตระหนัก การคำนึงถึงสิทธิดังกล่าว จะถือเป็นบันไดก้าวไปสู่ความยุติธรรมทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆร่วมกัน

  สรุป


รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้ความสำคัญกับการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของสิทธิมนุษยชน และยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น โดยให้มีหน้าที่ตรวจสอบ และรายงานการกระทำหรือละเว้นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายไทย หรือตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนาม โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าบุคคลนั้นจะมีอายุเท่าไร เพศใด เชื้อชาติใด นับถือศาสนาและภาษาอะไร มีสถานภาพทางกายหรือฐานะใด หากบุคคลอยู่ในพื้นที่ที่ใช้รัฐธรรมนูญย่อมได้รับความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และมีความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ตลอดจนการตรากฎหมาย การตีความ และการบังคับใช้กฎหมายอาจมีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ หากถูกลิดรอนหรือถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนก็สามารถร้องเรียนต่อศาลเพื่อให้ดำเนินคดีได้






คาวมขัดแย้ง การยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี

    
       

                      จากสถานการณ์ปัจจุบันคิดว่าทุกท่านคงทราบดีว่า เรากำลังเผชิญกับความขัดแย้งในระดับที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งในครั้งนี้เป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง (Structural Conflict) ที่เป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจและการใช้อำนาจ นอกจากนี้ยังเป็นความขัดแย้งจากผลประโยชน์ (Interest Conflict) ที่มีการแย่งชิงผลประโยชน์กัน ประกอบกับความขัดแย้งนี้ยังเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธาร ณะที่มีผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เกี่ยวข้องกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการเผชิญหน้ากัน ทำให้หลาย ๆ ฝ่ายต่างมีความเป็นห่วงกันว่าจะเป็นการทำให้สังคมไทยแตกแยกอย่างหนัก และจะนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด การยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธีจึงเป็นแนวทางที่กล่าวถึงกันเยอะ

                 อย่างไรก็ดีการทำความเข้าใจในพฤติกรรมความขัดแย้ง (Conflict Behavior) จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจรากของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ความขัดแย้งจะเกิดจาก บริบทของความเป็นปัจเจกของบุคคลแต่ละคน และบริบทของโครงสร้าง ดังนั้นการพิจารณาถึงพฤติกรรมความขัดแย้งแย้งนั้นจะต้องพิจารณาถึงทั้งสองด้าน เพราะถ้าขาดด้านใดด้านหนึ่งอาจจะนำไปสู่การยุติความขัดแย้งที่ผิดพลาดได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในที่สุด

                   สำหรับพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงนั้นจะเริ่มจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารแล้วแสดงออกโต้ตอบกันไปมาจนเกิดเกลียวแห่งความขัดแย้ง (Spiral of Conflict) ที่ต่างคนต่างมีปฏิกิริยาตอบโต้กัน โดยจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดกลายเป็นความขัดแย้งที่มีความรุนแรง ซึ่งถ้าไม่สามารถยุติวงจรของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้นั้น ก็จะนำไปสู่การทำลายล้างกัน เอาชนะคะคานกัน หรือ ที่เรียกว่า ความขัดแย้งแบบทำลายล้าง (Destructive Conflict) ส่วนทางออกของความขัดแย้งนั้นจะขึ้นอยู่กับแนวทางที่ต่างฝ่ายต่างเลือก ซึ่งพฤติกรรมเพื่อหาทางออกเมือเกิดความขัดแย้งนั้นใน ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ได้จำแนกออกเป็น (หนังสือ “ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา” พิมพ์ครั้งที่ 2 ของ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ สถาบันพระปกเกล้า 2547 หน้าที่ 180 - 182)

* การแข่งขันหรือวิธีของฉัน (Competing or My Way): พฤติกรรมแนวนี้จะยึดถือความพยายามที่จะเอาชนะ มักจะเป็นวิธีการของผู้ที่มีอำนาจที่จะใช้อำนาจทุกวิถีทาง โดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น

* การหลีกเลี่ยงหรือยอมถอย (Avoiding or No Way): เป็นพฤติกรรมที่พยายามหลีกเลี่ยงปัญหาหรือยอมถอย ซึ่งจะพบมากในกลุ่มประเทศเอเชีย และกลุ่มประเทศลาตินอเมริกัน

* การประนีประนอมหรือแบ่งคนละครึ่ง (Compromising or Half War): เป็นวิธีที่ประสานการร่วมมืออย่างหนึ่ง หรือที่เรารู้จักกันดีคือ การเดินสายกลาง

* การยอมตามหรือแล้วแต่ผู้ใหญ่ (Accommodating or Your Way): เป็นพฤติกรรมที่สังคมชอบปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นไปที่การรักษาความสัมพันธ์สูง มีความต้องการที่จะผลักดันความพยายามของตนเองน้อย ยอมรับแนวความคิดของคนอื่นโดยยกเลิกความต้องการของตนเอง คือ ยอมรับเชื่อฟังคำตัดสิน หรือคำสั่ง

* การร่วมมือกันหรือวิธีการของเรา (Collaborating or Our Way): เป็นพฤติกรรมที่ทั้งสองฝ่ายพยายามที่จะหาทางบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน เป็นการประสานประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ในลักษณะที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์

ส่วนกระบวนการในการจัดการความขัดแย้งสามารถนำเสนอได้ตามตารางที่ 1 โดยผลของการตัดสินใจที่เป็นลักษณะ ชนะ-ชนะ (Win-Win) จะเกิดจาก การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง และ การเจรจาไกล่เกลี่ย


ตารางที่ 1 กระบวนการตัดสินใจแก้ปัญหาข้อพิพาทและผลแห่งการตัดสินใจ
ที่มา: หนังสือ “ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา” พิมพ์ครั้งที่ 2 ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ สถาบันพระปกเกล้า 2547 หน้าที่ 150

กระบวนการที่ใช้
(Process)
ผู้ตัดสิน
(Decision-Making)
ผลการตัดสินใจ
(Result)
- ใช้ความรุนแรง (Violence/Fight)- ผู้ชนะ (The Winner)- แพ้-ชนะ (Win-Loose)
- ใช้การเผชิญหน้าประท้วงอย่างสันติ
(Non-Violence Direct Action or Civil Disobedience)
- ผู้ชนะ (The Winner)- แพ้-ชนะ (Win-Loose)
- ใช้การบัญญัติกฎหมาย (Legislation)- สภานิติบัญญัติ (The Legislature)- แพ้-ชนะ (Win-Loose)
- ใช้การฟ้องร้อง (Litigation)- ศาล (The Court)- แพ้-ชนะ (Win-Loose)
- ใช้อนุญาโตตุลาการตัดสิน (Arbitration)- อนุญาโตตุลาการ (Arbitrator)- แพ้-ชนะ (Win-Loose)
- ใช้การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง (Mediation)- คู่กรณี (The Parties)- ชนะ-ชนะ (Win-Win)
- ใช้การเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation)- คู่กรณี (The Parties)- ชนะ-ชนะ (Win-Win)
- ใช้การหลีกหนีปัญหา (Avoidance/Fight) -- คงสภาพเดิม (Status quo)


จากตารางที่ 1 จะพบถ้าคู่พิพาทเลือกใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาผลที่ได้จะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ และอีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้ อย่างไรก็ดี หลาย ๆ คนมักจะมีความเชื่อว่า ความรุนแรงจะช่วยยุติความขัดแย้งได้ เช่น การทิ้งระเบิดปรมาณูของสหรัฐ ฯ ที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ เพราะต้องการให้สงครามในภาคพื้นแปซิฟิกยุติโดยเร็ว และลดการสูญเสียนาวิกโยธินของตนเองในการขึ้นยึดเกาะญี่ปุ่น แต่ความรุนแรงมักจะไม่ใช่คำตอบเสมอไป เช่น ยุทธการเสรีภาพยั่งยืน (Operation Enduring Freedom) ของสหรัฐ ฯ ที่นำกำลังบุกเข้าไปในอัฟกานิสถาน เพื่อตามล่า บินลาดิน และล้มล้างรัฐบาลตอลีบาน ซึ่งสหรัฐ ฯ สามารถล้มล้างตอลีบานได้แต่ ความขัดแย้งยังไม่ได้ยุติ เพราะทุกวันนี้สหรัฐ ฯ ต้องคงกำลังไว้ที่อัฟกานิสถาน และทหารสหรัฐ ฯ เองก็ยังมีการสูญเสียอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับ ยุทธการปลดปล่อยชาวอิรัก (Operation Iraqi Freedom) หรือที่รู้จักกันในชื่อ สงครามอ่าวภาค 2 ที่สหรัฐ ฯ ยุติสงครามลงภายในเวลาไม่กี่วัน แต่ความรุนแรงยังคงมีอยู่ในอิรักตลอดเวลาจนมาถึงทุกวันนี้

ถึงตรงนี้คงมีคำถามตามมาว่าแล้ว “อะไรคือสันติวิธี” ดร.มาร์ค ตามไท ได้กล่าวถึงสันติวิธีไว้ว่า “สันติวิธีนั้นมีอยู่สองลักษณะคือ สันติวิธีในการต่อสู้เรียกร้องให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการและสันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง” (อ้างถึงในหนังสือ “ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา” พิมพ์ครั้งที่ 2 ของ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ สถาบันพระปกเกล้า 2547 หน้าที่ 101 - 103) โดยมีรายละเอียดดังนี้

* สันติวิธีในการต่อสู้หรือเรียกร้อง (Peaceful Demonstrate/Protest): แนวทางในการต่อสู้นี้เป็นแนวทางที่ถูกนำมาใช้ เมื่อ เกิดความไม่พอใจหรือมีความเห็นไม่สอดคล้องกับผู้ที่มีอำนาจ มีการดำเนินการในลักษณะของการประท้วง หรือ การเรียกร้อง หรือการต่อสู้โดยการยื่นหนังสือขอเข้าพบ หรือ การชุมนุมกันเพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วย หรือ แสดงออกถึงความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้มีอำนาจ โดย สงบ สันติ ไม่มีอาวุธ การต่อสู้ในแนวทางนี้จะมีชื่อเรียกกันว่า “การดื้อแพ่ง” (Civil Disobedience) ซึ่งแนวทางนี้เป็นแนวทางทีมีต้นแบบจากแนวทางการต่อสู่แบบ “อหิงสา” ของ มหาตมคานธี ในการต่อสู้เรียกร้องเอกราชของอินเดีย

* สันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Peaceful Conflict Resolution): สำหรับแนวทางนี้เป็นแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหาหลักจากที่ความขัดแย้งหรือข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว และพยายามที่จะยุติความขัดแย้งโดยการใช้แนวทางที่สันติ ซึ่งแนวทางที่เด่นชัดที่สุดได้แก่ การเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) กันเองระหว่างคู่พิพาท หรือ โดยมีคนกลางซึ่งเป็นบุคคลที่สาม (เป็นบุคคลเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้) ช่วยในกระบวนการไกล่เกลี่ยและไม่ได้ทำหน้าที่ตัดสินชีขาดแต่จะเป็นผู้กำกับการเจรจาให้ดำเนินไปได้อันจะนำไปสู่ทางออก คือการยุติความขัดแย้ง

จากที่กล่าวมาจะพบว่า การแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดจะเป็นการเจรจาไกล่เกลี่ย และ การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง เพราะผลลัพธ์ที่น่าจะเป็นไปในลักษณะที่ทั้งสองฝ่ายต่างชนะ (Win-Win) ซึ่งการไกล่เกลี่ยนั้นมีหลายรูปแบบ แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยครั้งคือ

* การเจรจาโดยยึดจุดยืน (Position-based Negotiation): การเจรจาในลักษณะนี้จะเป็นการเจรจาที่จะเอาแพ้ชนะเอาชนะกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนของตนเอง คู่เจรจาจะปฏิบัติต่อกันเหมือนเป็นศัตรูกัน ความเชื่อของการเจรจานี้จะเป็นลักษณะ Zero Sum Game ตามแนวคิดในทฤษฏีเกม (Game Theory) ที่ถ้าไม่แพ้ก็ต้องชนะ ผลของการเจรจาเช่นนี้มักยอมรับครึ่งทาง (Compromise) แต่การเจรจาในลักษณะนี้ไม่ควรจะนำมาใช้ในกรณีของความขัดแย้งในนโยบายสาธารณะ

* การเจรจาโดยยึดผลประโยชน์ (Interest-based Negotiation): การเจรจาในลักษณะนี้ไม่มองถึงประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว แต่จะมองและทำความเข้าใจของความต้องการ ความห่วงกังวลของฝ่ายอื่น การเจรจาลักษณะนี้จะเกิดจากคู่เจรจาทุกฝ่ายมาร่วมกัน แก้ปัญหา เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันโดยหวังให้ความต้องการของทุกฝ่ายได้รับการตอบสนอง ทุกฝ่ายจะไม่ระบุถึงจุดยืนของตนเอง แต่จะบอกถึง ความหวัง ความต้องการ ความห่วงกังวล ความหวาดระแวง

สำหรับตารางที่ 2 จะแสดงถึงความแตกต่างระหว่างการเจรจายึดจุดยืนและการเจรจาโดยยึดผลประโยชน์เป็นหลัก

ตารางที่ 2 แตกต่างระหว่างการเจรจายึดจุดยืนและการเจรจาโดยยึดผลประโยชน์เป็นหลัก
ที่มา: หนังสือ “ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา” พิมพ์ครั้งที่ 2 ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ สถาบันพระปกเกล้า 2547 หน้าที่ 174
การเจรจาโดยจุดยืนการเจรจาโดยยึดถือผลประโยชน์เป็นหลัก
- ให้ได้ส่วนแบ่งที่มากที่สุดเท่าที่ทำได้จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด- ได้ความพึงพอใจจากทุกฝ่าย
- เป็นผลลัพธ์แบบ แพ้-ชนะ- พยายามที่จะทำให้บรรลุต่อความต้องการของทุกฝ่าย
- เกิดความสัมพันธ์แบบปฏิปักษ์- ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- ผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายถูกมองว่าเป็นความขัดแย้งอีกฝ่ายหนึ่ง- มองหาจุดที่เห็น หรือมีประโยชน์
- พยายามยามเปิดเผยของฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันพยายามที่จะปกปิดของเราและทำให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจผิด- แบ่งปันข้อมูลและช่วยกันสร้างทางเลือกเพื่อให้ผลประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย
- ผู้มีส่วนเพื่อข้องจะเริ่มต้นที่ การตั้งความต้องการไว้สูง และเปลี่ยนจุดยืนอย่างลังเล- มุ่งผลประโยชน์ร่วมไม่ใช่จุดยืม
- ใช้การคุกคาม ถกเถียงในการให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี- ใช้เหตุผลและประสบการณ์ในการจัดการกับปัญหา


การทำความเข้าใจในเรื่องของความขัดแย้งและการยุติด้วยสันติวิธี เป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะนวัตกรรมต่าง ๆ ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อันจะนำมาซึ่งความขัดแย้งในที่สุด ดังเช่นสถานการณ์ปัจจุบัน เราคงต้องยอมรับว่าบ้านเมืองของเราไม่เคยมีการแตกแยกทางความติดอย่างนี้มาก่อน ดังนั้นถ้าแกนนำของแต่ละฝ่ายมองไปยังผลประโยชน์ของประเทศชาติ มากกว่าผลประโยชน์ของตนเองแล้ว ผมเชื่อว่าเราคงผ่านวิกฤตการณ์ตรงนี้ไปได้ ประเทศไทยไม่ได้ขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่บุคคลทุกภาคส่วนต่างหากคือผู้ที่จะนำพาประเทศไทยเดินไปข้างหน้า ประชาธิปไตยนั้นเสียงส่วนใหญ่ (Majority Rule) นั้นไม่อาจละเลยสิทธิของเสียงส่วนน้อย (Minority Right) ได้ ถ้าทุกคนหันหน้าเข้าหากันแล้วทุกอย่างคงจะดีขึ้น สำหรับผมแล้วผมเชื่อในกฎแห่งกรรม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง คงจะช่วยลงโทษคนที่คิดร้ายต่อประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นคนไทยที่เกิดบนแผ่นดินไทยแล้วคดโกง คิดมิดีมิร้ายต่อแผ่นดินเกิดแล้ว ผมเชื่อว่าคงมีอันเป็นไปไม่ช้าก็เร็วครับ……………

การพึ่งพาอาศัยกันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์




 ผลขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การพึ่งพา การแข่งขัน การขัดแย้ง และการประสานประโยชน์กันเป็นปกติในวิสัยของมนุษยชาติ เนื่องจากสังคมมนุษย์ได้พัฒนาขึ้น มาจากพื้นฐานที่แตกต่างกันทั้งทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สิ่งแวดล้อม ผลประโยชน์ ความเชื่อ และวัฒนธรรมประเพณี จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันของมนุษย์ที่อยู่ในโลก และ การร่วมมือกันระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ของประชากรของแต่ละประเทศ ซึ่งองค์กร ความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็จะเป็นรูปแบบหนึ่งของการพึ่งพากัน และการประสานประโยชน์ ร่วมกัน ซึ่งผลขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามารถสรุปได้ดังนี้

ความขัดแย้ง

สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งของประเทศต่างๆได้แก่ การแข่งขันกันทางอาวุธ และความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์และสังคมวัฒนธรรม ตลอดจนผลประโยชน์ทางด้าน เศรษฐกิจ ซึ่งความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ เกิดมาจากการที่แต่ละประเทศมีทรัพยากร เพื่อการผลิตสินค้าและบริการที่ไม่เหมือนกัน และการจัดสรรทรัพยากรของแต่ละประเทศ มีจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน รวมทั้งการมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด จึงเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้ง กันในระหว่างประเทศได้ ตลอดจนอุดมการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ ผู้นำประเทศของแต่ละประเทศ ที่ต้องการรักษาความมั่นคงให้เกิดขึ้นแก่ประเทศตน และทำให้ประชาขนของตนได้กินดีอยู่ดี แต่โดยทั่วไปแล้ว ประเทศต่างๆย่อมมีความอุดมสมบูรณ์ และทรัพยากรที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ ไม่เท่าเทียมกัน และไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงทำให้มีการใช้กำลังเข้าบุกรุก ขับไล่ และละเมิดอธิปไตยของประเทศอื่น เพื่อตนจะได้เข้าครอบครองความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร นั้น อันจะช่วยให้ประชาชนของประเทศตนได้อยู่ดีกินดี ทำให้เกิดความขัดแย้ง และเกิดกรณี พิพาทขึ้น ตัวอย่างเช่น สงครามระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี อันมีสาเหตุมาจากการแข่งขันกัน เข้าไปครอบครองดินแดนอัลซาสและลอเรน ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่เหล็ก และถ่านหินที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม สงครามในครั้งนี้นับว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไป สู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามอ่าวเปอร์เซียระหว่างอิรักและกองกำลังสหประชาชาติ ในกรณีที่อิรักเคลื่อนกำลังเข้ายึดครองคูเวต ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันจำนวนมหาศาลในเอเชีย ตะวันตกเฉียงใต้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังต้องการดำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศ ซึ่งได้แก่ ความอยู่รอด ความมั่นคง และศักดิ์ศรีของชาติ เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปกป้อง คุ้มครอง และรักษาไว้ เพื่อให้ประชาชนของประเทศมีความปลอดภัย มีสันติสุข และอยู่ดีกินดี หากมีเหตุการณ์ ที่บ่งชี้ว่าจะกระทบกระเทือนผลประโยชน์ดังกล่าว รัฐบาลของประเทศนั้นๆก็จะต้องมีปฏิกิริยา ต่อต้านและตอบโต้ ซึ่งย่อมทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ ซึ่งความขัดแย้งทางด้านทรัพยากร ที่เป็นปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ ก่อให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งทางด้านทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และเกิดประโยชน์ แก่ประชาชนภายในประเทศมากที่สุด

การประสานประโยชน์

การประสานประโยชน์เป็นการร่วมมือเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตน ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการระงับกรณีพิพาทที่มาจากการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การประสานประโยชน์มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม อันเป็นการรักษาผลประโยชน ์ร่วมกันของทุกฝ่าย ซึ่งจะสามารถหลักเลี่ยงความขัดแย้ง ร่วมมือกันแก้ปัญหาที่ต่างก็เผชิญอยู่ และพึ่งพาอาศัยและแลกเปลี่ยนความรู้กันมากขึ้นทาง ด้านเทคโนโลยีการผลิต กระบวนการ ผลิต ความรู้ทางด้านการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิต สินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนภายในประเทศ ซึ่งการประสาน ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจจะอยู่ในรูปของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ของประเทศต่างๆให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น การค้าแลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิตกันระหว่าง ประเทศ เป็นต้น และการร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจยังเป็นการลดความขัดแย้งกันในทาง เศรษฐกิจและเป็นกำลังที่สำคัญ ในการต่อรองด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นองค์กรที่รักษาผลประโยชน์แก่ประเทศ สมาชิกในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นสมาชิกองค์กรดังกล่าว นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเข้าร่วมกับองค์กรทางเศรษฐกิจขององค์การสหประชาชาติ ทำให้ไทยได้รับ ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อยกประดับความเป็นอยู่ของประชาชน ได้รับ ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน ด้านบุคลากร เทคโนโลยี และวิธีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของไทย นอกจากนี้ ไทยยังได้อาศัยองค์การต่างๆเหล่านี้ เช่นองค์การการค้าโลก เป็นเวทีที่จำนะเสนอหรือเรียกร้องให้การค้าระหว่างประเทศเป็นธรรม หรือลดการเอารัด เอาเปรียบไทยได้บ้าง และเมื่อไทยประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงใน พ.ศ. 25402541 ไทยก็ได้อาศัยเงินช่วยเหลือที่องค์การการเงินระหกว่างประเทศให้กู้ยืมมา ดังนั้น การประสานประโยชน์กันในรูปขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจจะทำให้ประเทศสมาชิกได้รับ ผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ตลอดจนการส่งเสริมให้ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศสมาชิก

การพึ่งพากัน

การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่างๆในด้านการรวมตัวเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็ เนื่องมาจากความมั่นคงและสวัสดิการของประเทศ ซึ่งการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเน้นภาคธุรกิจหรือ ผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรม ยิ่งกว่านั้น เมื่อกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ย่อมทำให้ สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบการค้า มักจะถือกันว่าเป็นรูปแบบ ของกระบวนการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ อัตราส่วนของการค้าต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ ขยายตัวมากขึ้นย่อมหมายถึงประเทศนั้น มีการพึ่งพิงระบบการค้า ระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย ทำให้การเจริญเติบโตของประเทศต้องอาศัยการพึ่งพากันทางการค้า และการลงทุน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยน เทคโนโลยีและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทศสมาชิกในองค์กรได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆได้ เช่น ความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว และได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มในด้าน การพึ่งพาอาศัยกัน เช่น แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าหรือใช้ปัจจัยการผลิตที่ประเทศตนเอง สามารถผลิตได้ กล่าวคือ ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช อินโดนีเซียและ มาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต ซึ่งแต่ละประเทศมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ทำให้ส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศได้มากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้นด้วย ดังนั้นการพึ่งพาอาศัยกันในรูปของการร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของแต่ละประเทศ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และองค์กรที่มีความเข้มแข็งสามารถต่อรองทางการค้ากับประเทศต่างๆได้

การแข่งขัน

ในสภาวการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ประเทศต่างๆมีการแข่งขันทางด้านการค้าระหว่าง ประเทศ และการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างตลาดให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน ตลอดจนความ ได้เปรียบของประเทศที่สามารถผลิตสินค้าที่มีปริมาณน้อย แต่มูลค่าของสินค้าสูง ซึ่งจะเป็น สินค้าเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและสินค้าอุตสาหกรรม เมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศ ที่มีผลผลิตส่งออกไปขายต่างประเทศในรูปของสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งมีมูลค่าน้อยทำให้เกิดความ ได้เปรียบเสียเปรียบขึ้น จึงเป็นต้นเหตึให้เกิดการรวมตัวหรือรวมกลุ่มทางการค้าขึ้น โดยจัดตั้งเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะได้มีอำนาจต่อรองทางการค้า กับประเทศคู่ค้า ซึ่งประเทศใดมิได้รวมกลุ่มทางการค้า ย่อมทำให้ประเทศนั้นไม่สามารถแข่งขัน กับประเทศอื่นๆได้ ทำให้ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจล่าช้าไม่ทันกับประเทศอื่น นอกจากนี้ความล้าหลังของผลผลิตและความไม่ทันยุคสมัยก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องมีการแข่งขันระหว่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1980 ที่ผู้ผลิตรถยนต์ภายในประเทศไม่สามารถ แข่งขันรถยนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ อันเนื่องมาจากมูลค่าของรถยนต์ต่างประเทศ มีมูลค่าต่ำกว่าภายในประเทศ เป็นต้น ดังนั้น การร่วมมือกันในการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจจะช่วยให้ประเทศสมาชิกสามารถ แข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ และมีการแลกเปลี่ยนผลผลิตภายในองค์กร ทำให้ประเทศสมาชิกไม่ต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศนอกองค์กร ทั้งยังสามารถต่อรองการค้ากับประเทศคู่ค้าได้ นอกจากนี้การรวมตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านการค้า ส่งผลให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเกิดการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

คุณธรรมและการรู้เท่าทัน

ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบันมีการแข่งขันทางการค้าในระดับสูง ทำให้แต่ละประเทศต้องหา นโยบายและมาตรการต่างๆในการแข่งขันการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งบางมาตรการส่งผลกระทบ ต่อประเทศอื่นๆ ทำให้ประเทศเหล่านั้นไม่สามารถแข่งขันหรือทำการค้าได้ เช่น มาตรการ กำหนดกำแพงภาษี ซึ่งเป็นการกีดกันสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ และทำให้สินค้ามี ราคาสูงขึ้น ไม่สามารถขายภายในประเทศได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบ กับประเทศเหล่านั้น เพราะบางประเทศส่งสินค้าออกขายยังต่างประเทศ ในรูปของสินค้าภาคเกษตร แต่บางประเทศส่งสินค้าออกขายยังต่างประเทศในรูปของสินค้า ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีมูลค่าที่สูงกว่า ย่อมเป็นการเอาเปรียบกับประเทศคู่ค้าที่เป็น สินค้าเกษตรกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยจัดตั้งเป็นองค์กร การร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศที่เสียเปรียบทางการค้า ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการค้าระหว่างประเทศ และมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในการร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก นอกจากนี้ยังช่วยให้การค้าระหว่างประเทศ มีศักยภาพมากขึ้น กล่าวคือ เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการมีความก้าวหน้า และทันสมัยมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง เมื่อประเทศต่างๆมีการร่วมมือทาง เศรษฐกิจกันแล้วย่อมเกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน ทำให้ประเทศสมาชิกมี การผลิตสินค้าและบริการที่สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆที่อยู่นอกองค์กรได้ ส่งผลให้ เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกมีการเจริญเติบโตมากขึ้นตามไปด้วย